วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

โปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดอินเตอร์เน็ต - 6 ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต


เว็บเบราเซอร์ (Web browser)


                         Web browser




                เว็บเบราเซอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงเว็บไซต์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นโปรแกรมสำหรับใช้เล่นอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้เว็บไซต์ต่างๆ จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ เว็บเพจ (web page) ที่สร้างด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) 
ข้อมูลทั้งหลายของเว็บเพจจะถูกเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ  (world wide web หรือ www.)
           เว็บเบราเซอร์จึงเหมือนประตูเชื่อมต่อสู่โลกแห่งอินเตอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บต่างๆ ซึ่งวิธีการใช้งานนั้นก็แค่กรอกชื่อเว็บไซต์หรือUR (Uniform Resource Locators)ลงในช่องใส่ Address ของเบราเซอร์



6 ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต


1. Microsoft Internet Explorer

Microsoft Internet Explorer หรือ IE คือ โปรแกรมเบราเซอร์โปรแกรมหนึ่ง (ซึ่งสำหรับคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows นั้นรู้จักกันดี เพราะเป็นเบราเซอร์ที่มาจากค่ายเดียวกับ windows นั้นเอง) ใช้ในการท่องInternet เป็น Application Software ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft และพัฒนามาต่อเนื่องจนถึงเวอร์ชั่นล่าสุด นั้นคือ IE8

2. Google Chrome

Google Chrome คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ที่ใช้สำหรับเปิดเว็บไซต์โดยมี Google เป็นผู้พัฒนา ปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน Internet เป็นอย่างมากเพราะมีความปลอดภัยสูง มีโปรแกรมเสริมมากมาย โดยโปรแกรมเสริมเหล่านี้มีทั้งแบบ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่ Google พัฒนาขึ้นได้อย่างหลากหลาย การเปิดหน้าเว็บเพจทำได้อย่างรวดเร็ว Google Chrome จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว Google Chrome ยังมีการ Update อย่างสม่ำเสมอทำให้มีข้อบอกพร่องน้อยมาก ภาพด้านล่างเป็นภาพรวมของGoogle Chrome ซึ่งจะเห็นว่ามีไอค่อนแสดงอยู่ 3 ไอค่อน ประกอบด้วย Store Docs Google Drive หากคุณเคยสมัคร และมี Gmail Account อยู่แล้วสามารถเข้าสู่ระบบและใช้งานบริการต่าง ๆ ได้อย่างทันที

3. FireFox

Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ IE < Internet Explorer> นำทีมสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว ใช้งานได้สะดวก แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ต้องเปิด window ใหม่ อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle สำหรับการค้นหาข้อมูล

4. Opera

Opera เป็นเบราเซอร์แบบ All-in-one คือมีทุกอย่างมาให้ครบถ้วนในตัวมัน (มีทั้ง Email Client, IRC client, Feed Reader, BitTorrent และยังมีลูกเล่นอื่น ๆ อีกมากมาย) Opera เป็นอีกหนึ่ง web browser คล้ายๆ กับ Internet Explorer และ Firefox โดยเดิมที opera เป็น เพียง project หนึ่งเท่านั้น ต่อมาในปี 1995 จึงได้ออกมาก่อตั้งบริษัท ทำเบราเซอร์ขายOpera นั้นเป็น browser ที่โดดเด่นเสมอมา เนื่องด้วยฟังก์ชันที่ก้าวล้ำนำหน้าคนอื่น ความปลอดภัยสูง รวมไปถึงความเร็วสูงด้วย จนในช่วงหนึ่ง Opera ถึงกับโฆษณาว่าเป็น The Fastest Browser เลยทีเดียว


5. Safari

Safari เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ชาว Apple น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดเว็บไซต์ซึ่งปกติจะมีใช้ในอุปกรณ์ของ Apple อย่างเช่น Macbook, iPad, iPod, iPhone ข้อดีของโปรแกรมคือความง่ายและความรวดเร็วในการใช้งาน พร้อมดีไซน์ที่ดูเรียบง่ายแต่สวยหรูจนหลายคนติดใจ สำหรับเวอร์ชั่นอัพเดทตัวนี้ก็มีการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการทำงานของ Javascript ให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น, แก้ไขบั๊กที่พบเมื่อเปิดเว็บไซต์ที่มีการใช้งาน HTML แก้ไขบั๊กเมื่อเปิดไฟล์ PDF เป็นต้น

6. Plawan Browser

Plawan Browser เป็นเว็บบราวเซอร์ ที่ถูกพัฒนาโดยคนไทยเพื่อคนไทย ด้วยความสามารถของตัวโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับ เว็บบราวเซอร์ ชั้นแนวหน้าอื่นๆ เช่น Microsoft Internet Explorer, Netscape Navigator หรือ Opera แต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนู การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้

อีกทั้งตัวโปรแกรม Plawan Browser ยังมี ระบบ Dictionary อัจฉริยะ ที่สามารถแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยบนเว็บ พร้อมตัวอย่างการใช้ศัพท์ และประโยคในการใช้งานได้อีกด้วย ทำให้เยาวชนหรือผู้เริ่มต้นใช้งานอินเทอร์เน็ตได้รับความสะดวกในการใช้งานอย่างมาก



ข้อมูลอ้างอิง:
  • http://www.siamget.com/buyerguide/707 
  • http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2150-ie-microsoft-internet-explorer-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html 
  • http://www.ninetechno.com/a/google-chrome/818-chrome-001.html 
  • http://www.clipmass.com/story/4092 
  • http://siam5205100008.blogspot.com/2011/02/90-source-code-source-code-config-repo.html 
  • http://www.downloaddd.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1+Safari/ 
  • http://www.plawan.com/story.php 

อินเตอร์เน็ตและประโยขน์ของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet)


 อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้  การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
        ในปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก แต่ละคนก็ใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตไปในหลายด้านต่างๆมากมายในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งด้านการศึกษา เชิงพาณิชย์ ธุรกรรม ความบันเทิง และอื่นๆ วันนี้เราจะมากล่าวถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านการศึกษา
         เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่เราสนใจ เป็นต้น ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ หรือคลังหนังสือมหาศาลนักเรียน และนักศึกษสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านธุรกิจและเชิงพาณิชย์
         เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจสามารถซื้อ – ขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตบริษัทหรือองค์กรต่างๆสามารถให้บริการและสนับสนุนลูกค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ ตอบปัญหาต่างๆให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ทำการตลาด การโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านความบันเทิง
          ค้นหา Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆได้ ฟังวิทยุผ่านเครือข่าอินเทอร์เน็ตได้ สามารถดึงดาวน์โหลด (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มีความสำคัญในรูปแบบอื่นๆอีก
1. ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเหมือนกับการส่งจดหมายแบบเดิมๆ แต่การส่งอีเมล์จะรวดเร็วกว่ามาก
2. โอนถ่ายข้อมูล ค้นหา และเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง
3. ค้นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้ ผ่าน World wide Web
4, สื่อสารด้วยข้อความ Chat เป็นการพูดคุยโดยพิมพ์ข้อความตอบกัน การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้อยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม

ข้อมูงอ้างอิง:
http://computer.bcnnv.ac.th/hnwy-kar-reiyn-ru2 และ
http://www.hitechsky.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87/

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร 



            ไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช้เชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายสู่คนได้แต่อย่างใดแต่มันคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ถูกเขียนและพัฒนาขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์สายมืด (พวกที่เขียนโปรแกรสำหรับก่ออาชญากรรมทางด้านไอที) ไวรัสนั้นเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับระบบคอมพิวเตอร์โดยจุดมุ่งหมายเริ่มแรกมาจากการกลั่นแกล้งกันเพื่อรบกวนไม่ให้ระบบคอมพิวเตอร์เป้าหมายสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปแนวคิดในการเขียนไวรัสเริ่มรุนแรงขึ้นถึงขั้นทำลายข้อมูล และโจรกรรมข้อมูลเพื่อขายในตลาดมืด (มักจะเป็นข้อมูลลูกค้าของธนาคารหรือสถาบันการเงิน)
          ในปัจจุบันไวรัสและแอนตี้ไวรัสมีการพัฒนาแทบจะเรียกว่าวันต่อวัน จนเราต้องมั่นอัพเดตโปรแกรมสแกนไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอ

 ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

             ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่รู้หรือไม่ว่าโดยพื้นฐานของมันแล้วมาจากแหล่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้
              1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมาก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

               2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses
เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป   นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป
   
                 3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) 
เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจจุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้
 
                 4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses)
 เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียวไวรัสใหม่ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึนเรื่อย ๆ

                  5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses)
เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

                    6. มาโครไวรัส (Macro viruses)
 จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น

โทษของไวรัสคอมพิวเตอร์

 ขีดความสามารถของไวรัสนั้นสามารถพัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัด ขึ้นอยู่กับว่าไวรัสตัวนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใดไวรัสบางตัวอาจทำแค่รบกวนไม่ให้เราสามารถทำงานตามปกติได้ เช่น ล็อคเมาส์หรือหน้าจอ ทำให้เครื่องช้าลง หรือซ่อนไฟล์งาน เป็นต้น บางตัวก็ใช้สำหรับทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการเปิดประตูลับ (Back door) ของเครื่องเป้าหมายอย่างม้าโทรจันเพื่อให้สามารถควบคุมการทำงาน ไปจนถึงล้วงเอาข้อมูลออกมา ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลอ้างอิง:
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
และ
http://panwan333.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html?m=1

การประกันราคาขั้นต่ำ


การกำหนดราคาขั้นต่ำ(Minimum Control)

       มาตรการนี้มักนิยมใช้กับสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งระดับราคาสินค้าที่กําหนดโดย  อุปสงค์และอุปทานของสินค้ามักมีระดับต่ำเกินไป อาจเนื่องมาจากอุปทานมีมากเกินไป หรืออุปสงค์ที่ปรากฏในตลาดไม่ใช่อุปสงค์ที่แท้จริง อันเกิดจากการรวมตัวของผู้ซื้อเพื่อเพิ่มอํานาจการต่อรอง ความเดือดร้อนจึงตกอยู่กับผู้ผลิต (เกษตรกร) รัฐบาลจึงจําเป็นต้องเข้าช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยการกําหนดราคาขั้นต่ําของสินค้า ตามปกติราคาขั้นต่ํามักจะกําหนดให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นโยบายนี้เรียกว่า นโยบายประกันราคาหรือพยุงราคา (Price Guarantee or Price Support)
ซึ่งได้มีผู้พยายามแยกความแตกต่างระหว่างนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคา

นโยบายประกันราคา  เป็นการกําหนดราคาสินค้าให้สูงกว่าดุลยภาพเดิม โดยได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะเส้นอุปสงค์และอุปทาน เป็นการเข้าแทรกแซงราคาโดยตรง
นโยบายพยุงราคา เป็นวิธีการยกระดับราคาดุลยภาพให้สูงขึ้น โดยเพิ่มระดับอุปสงค์ให้สูงขึ้น หรือลดระดับอุปทานให้ต่ําลง โดยกลไกราคายังทํางานปกติ


อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ทั่วๆไป มักจะกล่าวถึงนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคารวมๆ กัน โดยหมายถึง การที่รัฐบาลเข้าไปกําหนดราคาให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นั่นเอง


(นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ)

      จากรูป ราคาและปริมาณดุลยภาพคือ OP0 และ OQ0 ถ้ารัฐบาลเห็นว่าราคาOP0 บาท เป็นราคาที่ต่ําเกินไป รัฐบาลก็มากําหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นเป็น OP1 และปรากฏว่าณ ระดับราคา OP1 ปริมาณการเสนอซื้อจะลดลงเหลือ OQ1 ในขณะที่ปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ทําให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) = Q1Q2 ดังนั้นการกําหนดให้มีการขายสินค้าในราคา OP1 ทําให้สินค้าจํานวนหนึ่งไม่สามารถขายได้ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบกับจํานวนสินค้าที่เหลืออยู่ ในทางปฏิบัติรัฐบาลอาจใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพื่อจัดการกับส่วนเกินของสินค้าที่เกิดขึ้น ดังนี้

(ก) รัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ  โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อ
อุปทานส่วนเกินเป็นจํานวนเงิน = OP1 × Q1Q2 = พ.ท. Q1ABQ2 และต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การเตรียมจัดยุ้งฉางและไซโลไว้ซึ่งสินค้าที่รัฐบาลรับซื้อไว้อาจนําไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เช่น
นําออกไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดอุทกภัย อัคคีภัย และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่คาดฝัน รวมทั้ง
นําออกไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลน หรือส่งไปยังต่างประเทศ

(ข) รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต  มาตรการนี้รัฐบาลปล่อยให้เกษตรกรขาย
ทั้งหมด = OQ2 ราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจซื้อทั้งหมดคือราคา OP2 ส่วนต่างระหว่างราคา OP1 และ
OP2 ซึ่งเท่ากับ P1P2 ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เท่ากับส่วนต่างของราคาคือ P1P2

ในกรณีนี้รัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน = พ.ท. P1BCP2





(นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน)

    จากมาตรการทั้ง 2 มาตรการ จะใชมาตรการใดขึ้นอยู่กับจํานวนเงินที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในมาตรการใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานมาพิจารณาประกอบด้วย

การกำหนดราคาขั้นต่ำ รัฐจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สินค้า
ชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ
โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น
- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน


ข้อมูลอ้างอิงจาก:
http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf และ
https://sites.google.com/site/krukanithasriboon/thdsxb-2


การประกันราคาขั้นสูง

                                                                                                                         
กําหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Control)

              เป็นนโยบายที่รัฐบาลนํามาใช้เมื่อเห็นว่าราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เป็นราคาที่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะถ้าเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ ดังนั้นรัฐบาลจึงจําเป็นจะต้องหาทางช่วยแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการกําหนดราคาขั้นสูง โดยทั่วไปราคาขั้นสูงมักต่ํากว่าราคาดุลยภาพ นโยบายดังกล่าวมักเรียกกันว่า นโยบายควบคุมราคา (Price Control Policy)

(นโยบายการควบคุมราคา)

        จากรูป ราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยกลไกราคา คือ OP0 ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลเห็นว่าสูงเกินไป จึงเข้าแทรกแซงราคาสินค้าให้ต่ําลงเป็น OP1 มีผลทําให้ปริมาณการเสนอซื้อเป็น OQ1 แต่ปริมาณการเสนอขายกลับลดลงเป็น OQ2 เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) = O1Q2 ก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า = Q1Q2

การใช้นโยบายประกันราคาขั้นสูงของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลตามมาคือ

(ก) จะเกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน ใครมาทีหลังไม่ได้ก่อให้เกิดการรอ
คิวเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเวลา ถ้าคิดเป็นเงินแล้วอาจสูงกว่าราคาที่ซื้อขาย

(ข) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพของสินค้า หรือการให้บริการหลังขาย

(ค) เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้ากันอย่างลับๆ ที่เรียกกันว่า ตลาดมืด (Black Market)
โดยราคาที่ซื้อขายจะสูงกว่าราคาควบคุม แต่ไม่สูงกว่าราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายในที่นี้ OP2

เพื่อให้มาตรการการกําหนดราคาขั้นสูงทํางานได้รัฐบาลมักจะใช้นโยบายควบคู่กันไป คือ
(ก) นโยบายการปันส่วน (Rationing Policy) เพื่อกระจายสินค้าที่มีไม่เพียงพอให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
 โดยวิธีการแจกคูปอง ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) การนําเข้า (Import) เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ขาดแคลนทําให้ Supply ของสินค้าเพิ่มขึ้น
 เช่นในกรณีที่รัฐบาลเคยนําเข้าปูนซีเมนต์จากจีน หรือน้ําตาลจากอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนสินค้าดังกล่าว

การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน จากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด



ข้อมูลอ้างอิงจาก:
http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf และ
https://sites.google.com/site/krukanithasriboon/thdsxb-2







ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและอุปทานต่อราคา


 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์

       ความยืดหยุ่นเป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขายมีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงมากเรียกว่ามีความยืดหยุ่นมาก ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงน้อยเรียกว่ามีความยืดหยุ่นน้อย ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าไม่มีความยืดหยุ่นเลย

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ หมายถึง เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ ซึ่งเราจะศึกษากัน 3 ตัวคือ
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) หมายถึงเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้เสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

Ed = เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อ / เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
Ed = (100ΔQ/Q) / (100ΔP/P)
Ed = (ΔQ/ΔP)(P/Q)

การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาแบบจุด

เป็นการคำนวณหาความยืดหยุ่น ณจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ มีสูตรคือ

Ed = (ΔQ/ΔP)(P/Q)
Ed = (Q2-Q1/P2-P1)(P1/Q1)

การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาแบบช่วง

เป็นการคำนวณหาความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ มีสูตรคือ

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((P2+P1)(P2-P1))

  • ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่คำนวณได้ จะมีค่าเป็นลบเสมอ เนื่องจากฏ Law of Demand ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงสวนทางกับอุปสงค์ตลอดเวลา
  • การนำมาใช้จะใช้เป็นเลขบวก (Absolute)
  • หากมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่า มีความยืดหยุ่นมาก มักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
  • หากมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า มีความยืดหยุ่นน้อย มักจะเป็นสินค้าจำเป็น
  • หากมีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาจะไม่มีผลต่อรายรับรวม ลักษณะกราฟจะเป็นเส้นโค้ง Rectanguar Hyperbola
  • หากมีค่าเท่ากับ 0 แสดงว่า ไม่มีความยืดหยุ่นเลย ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าตลอดไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไร จึงเป็นสินค้าจำเป็นอย่างยิ่ง
  • หากมีค่าเป็น ∞ แสดงว่า มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าที่ราคานั้นๆ อย่างไม่จำกัดจำนวน แต่จะไม่ซื้อเลยหากราคาขยับขึ้นเพียงนิดเดียว มักจะเป็นสินค้าที่มีผู้ขายเป็นจำนวนมาก

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายรับรวม

รายรับรวม (ตัวย่อ : TR) สามารถคำนวณได้จากราคาสินค้าคูณกับปริมาณขายทั้งหมด
  • กรณี Ed = 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจะไม่มีผลต่อ TR
  • กรณี Ed > 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จะทำให้ยอดขายลดลงมาก ทำให้ TR ลดลง ส่วนการลดราคาเพียงเล็กน้อย จะให้ผลตรงกันข้าม
  • กรณี Ed < 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ยอดขายลดลงไม่มากนัก ทำให้ได้ TR เพิ่มขึ้น ส่วนการลดราคาจะทำให้ TR ลดลง

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

เป็นค่าความยืดหยุ่นที่พิจารณาความสัมพันธ์ของรายได้กับความต้องการซื้อ มีสูตรดังนี้

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((Y2+Y1)(Y2-Y1))

  • ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ สามารถเป็นได้ทั้งค่า + และ - ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า ถ้าเป็นสินค้าปกติ จะมีค่าเป็นบวก ส่วนสินค้าด้อยคุณภาพ จะมีค่าเป็นลบ

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((PY2+PY1)(PY2-PY1))


  • เรียกอีกอย่างว่า ความยืดหยุ่นไขว้
  • ถ้ามีค่าเป็นบวก แสดงว่าเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
  • ถ้ามีค่าเป็นลบ แสดงว่าเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้
ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา


  • สินค้าที่ทดแทนกันได้
  • มูลค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วนของรายได้
  • สินค้าฟุ่นมเฟือยและสินค้าจำเป็น
  • ปริมาณอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นถ้าผู้บริโภคมีเวลาพิจารณามากขึ้น



ความยืดหยุ่นของอุปทาน

ความยืดหยุ่นของอุปทาน หมายถึงค่าที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคา กล่าวคือ หากราคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซ็นต์ ความต้องการขายจะเปลี่ยนแปลงกี่เปอร์เซนต์

Es = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า/เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน

สามารถคำนวณได้ 2 ลักษณะคือ

  • ความยืดหยุ่นแบบจุด
  • ความยืดหยุ่นแบบช่วง

ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา

ปัจจัยที่สมีอิทธิพลต่อความยืดหยุ่นของอุปทานคือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า หากผู้ผลิตมีเวลามากก็จะมีความยืดหยุ่นมาก

  • ช่วงเวลาสั้นมากจนผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายได้ กราฟอุปทานจะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนปริมาณ
  • ช่วงเวลาระยะสั้น กราฟอุปทานจะมีความชั้นมาก
  • ช่วงเวลาระยะยาว กราฟอุปทานจะมีความชั้นน้อย

ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่น


  • ทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์/อุปทาน
  • ทำให้ธุรกิจสามาถทราบถึงรายรับรวมอันเนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ทำให้ทราบถึงความจำเป็นของสินค้าต่างๆที่มีต่อผุ้บริโภค
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆได้ เช่น ความยืดหยุ่นของอุปทานเงินฝากต่ออัตราดอกเบี้ย

อ้างอิงข้อมูลจาก:
http://mba.sorrawut.com/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_3_%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

เครือข่ายคอมพิวเตอร์



เครือข่ายคอมพิวเตอร์


      

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น


การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว


การทำสำเนา(copy) หรือ บันทึก(save) ข้อมูลลงในแผ่นดิสก์(floppy disk) แล้วส่งให้คนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันก่อนที่จะมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนับว่าเป็นวิธีที่เสียเวลาและยุ่งยากน้อยกว่าการส่งเป็นแผ่นกระดาษ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล เพราะคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์ได้เลย การใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้เรียกว่า sneakernet หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล การใช้เครือข่ายแบบ sneakernet นี้ ถือว่ายังช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่บ้างในองค์กรที่ไม่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันโดยสายสัญญาณ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องจะเร็วมากเนื่องจากการเดินทางของข้อมูลผ่านสายสัญญาณนี้ จะมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะอยู่ห่างกันแค่ไหน การแลกเปลี่ยนข้อมูลก็จะเร็วกว่าการใช้แผ่นดิสก์มาก เครือข่ายแบบนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ



อ้างอิง: http://guru.sanook.com/2287/

รูปภาพอ้างอิง https://www.google.com.mx/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwj_xp3Clc7LAhVCWh4KHdpIA00QjRwIBw&url=http%3A%2F%2Fquotesgram.com%2Fcomputer-networking-quotes%2F&psig=AFQjCNH44ra9-GVCIQP_0KubVbUFonqwTQ&ust=1458525619605280