วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

อุปสงค์



**อุปสงค์ (Demand)**

       อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการสำหรับสินค้า และบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยทั่วๆ ไปแล้วเราสามารถที่จะ แบ่งประเภทของอุปสงค์ได้ดังต่อไปนี้
1.อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand)*
2.อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand)
3.อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่กำลังพิจารณาอยู่ (Cross Demand)

        แต่ในที่นี้เราจะให้ความสนใจในเรื่องของอุปสงค์ต่อราคา ทั้งนี้เนื่องมาจากอุปสงค์ชนิดนี้มักจะมีการกล่าวถึงมากที่สุด ซึ่งก็คือ จำนวนของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งคำว่าต้องการซื้อ มิใช่เป็นความต้องการธรรมดา (Need) แต่เป็นความต้องการที่จะมีอำนาจซื้อ(Purchasing Power)โดยมีเงินเพียงพอ และมีความเต็มใจที่จะซื้อ(Ability and Willingness) (อ้างในวันรักษ์มิ่งมณีนาคิน หน้า 23)

กฎของอุปสงค์ (Law Of Demand)

        ปริมาณของสินค้า และบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อย่อมแปรผกผัน (Inverse Relation) กับระดับราคาของสินค้า และบริการชนิดนั้นเสมอ (ยังผลให้ Demand มีลักษณะทอดต่ำลงจากซ้าย มาขวา และมีความชันเป็นลบ)

ฟังก์ชันของอุปสงค์ (Function OF Demand)

-Qx = f(Px)
โดยที่
Qx = ปริมาณของสินค้า X
Px = ราคาของสินค้า X

ถึงตอนนี้คงจะเกิดคำถามที่ว่าแล้วเหตุใดปริมาณการซื้อจึงต้องแปรผกผันกับราคา ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้ว ถ้าหากเราตอบคำถามนี้โดยใช้ความคิดโดยทั่วๆไปก็จะพบว่าการที่ราคากับปริมาณการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์แบบผกผัน สิ่งที่เราต้องรู้จักคือ ในธรรมชาติพฤติกรรมของมนุษย์นั้นไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายที่สูง หรือพูดง่ายๆ ว่าชอบสินค้าราคาถูก แต่ถ้าหากตอบในเชิงวิชาการแล้วนั้นเราสามารถพอที่จะสรุปได้ว่าเหตุที่ทำให้ปริมาณซื้อกับราคานั้นแปรผันกันแบบผกผันคือเหตุที่ปริมาณซื้อแปรผกผันกับราคา
1.ผลทางรายได้ (Income Effect) ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่สินค้านั้นมีราคาขึ้น แต่รายได้ของแต่ละบุคคลนั้นคงที่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป จึงส่งผลทำให้การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งต้องคิดให้รอบคอบอยู่เสมอ
2.ผลทางการทดแทน (Substitution effect) สืบเนื่องมาจากการใช้สินค้าชนิดอื่นๆ เข้ามา ทดแทนสินค้าชนิดเดิมที่เคยบริโภคอยู่ เช่น การบริโภคเนื้อหมู แทนเนื้อวัว เป็นต้น ซึ่งในการบริโภคสินค้าทดแทนเหล่านี้อาจจะสืบเนื่องมาจากราคาของสินค้าชนิดหนึ่งที่แพงขึ้น จึงส่งผลทำให้ผู้บริโภคต้องหันไปบริโภคสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความพอใจเท่ากันกับสินค้าชนิดนั้นแทน
           จากที่กล่าวมาข้างต้นที่กล่าวว่าราคา และปริมาณนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแปรผกผันกันนั้นเราสามารถที่จะแสดงออกมาให้เห็นได้ดังรูปต่อไปนี้


                             

       (แผนภาพแสดงถึงลักษณะของเส้นอุปสงค์)



ตัวกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
         จากการที่จะพิจารณาว่าอุปสงค์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต่อสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าในแต่ละบุคคลนั้นย่อมเห็นความสำคัญ หรือมีความต้องการในตัวสินค้าชนิดนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วนั้นหากเราจะพิจารณาว่าสิ่งใดที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ เราสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1. รสนิยม (Taste) ในที่นี้อาจจะเป็นลักษณะของแฟชั่นนิยม เช่น ในยุคปัจจุบันคนชอบความสะดวกสบายจึงส่งผลให้เครื่องมือเครื่องใช้ที่สามารถอำนวยความสะดวกเช่นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆหรือรถยนต์รุ่นใหม่ มีราคาที่สูงได้

2. ระดับราคา (Price) ระดับราคาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการตัดสินใจในการบริโภคของผู้บริโภค เพราะตามกฎของอุปสงค์ก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณการซื้อและระดับราคานั้นจะแปรผันกันอย่างผกผัน กล่าวคือ ถ้าระดับราคาลดลง ปริมาณการซื้อก็เพิ่มขึ้นได้

3. ระดับรายได้ (บุคคล/ครัวเรือน) (Income) ระดับรายได้ก็เช่นเดียวกัน ในระดับรายได้นี้จะเป็นสิ่งที่เป็นตัวกำหนดของบุคคล หรือครัวเรือนว่ามีศักยภาพในการซื้อมากน้อย ต่างกันเพียงใด

4. จำนวนประชากร (Population) จำนวนประชากรนั้นหมายถึงจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งถ้าหากมีมากความต้องการสินค้า และบริการก็ย่อมที่จะมากขึ้นไปด้วย

5. สภาพการกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจ (Income Distribution in Economy System)ในเรื่องของการกระจายรายได้ของประชากรในแต่ละระบบเศรษฐกิจนั้นย่อมแตกต่างกันถ้าหากว่าในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ นั้นมีช่องว่างระหว่างคนรวย และคนจนที่แตกต่างกันมากก็จะทำให้มีผลต่ออุปสงค์เช่นเดียวกัน

6. ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ทดแทนกันได้ (Substitution Goods) สำหรับในกรณีสินค้าทดแทนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมนำไปพัวพันกับราคาของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น เนื้อหมู่ เนื้อวัว แต่ที่จริงแล้วนั้นในทรรศนะของผู้เขียนสิ่งเหล่านี้เป็นการดูที่ความยากง่ายในการแสวงหาสินค้าที่สามารถนำมาตอบสนองความต้องการได้ใกล้เคียงกันเสียมากกว่า เช่น เนื้อหมู่ เนื้อวัว เป็นต้น

7. ฤดูกาล (Season) สิ่งที่กล่าวว่าฤดูการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของ ลม ฟ้า อากาศ ที่มีผลต่อการกำหนดตัวของอุปสงค์ และระดับราคาของสินค้าชนิดนั้นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากสินค้าใดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่ว่าหากไม่อยู่ในฤดูกาล ก็อาจจะทำให้มีราคาสูงได้ แต่ว่าปริมาณการซื้อนั้นอาจจะไม่มากนัก แต่ถ้าหากอยู่ในฤดูกาลแล้วนั้นก็จะส่งผลทำให้ราคาลดต่ำลงได้ ทำให้ปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้นได้

การย้ายเส้นอุปสงค์ (Shifts In Demand Curve)
          การที่ตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม เช่น รสนิยม, ราคาสินค้าอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้ปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้น หรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม


                         

(แผนภาพการเพิ่มขึ้นของเส้นอุปสงค์) 

            จากรูปจะเห็นได้ว่าจากเดิมเส้นอุปสงค์ในการซื้อสินค้า ถ้าหากระดับราคาอยู่ที่ P เราจะสามารถซื้อสินค้าที่ปริมาณ Q แต่ต่อมามีเหตุการณ์ที่มีผลทางบวกต่อสินค้า และบริการที่เรากำลังพิจารณาอยู่ ก็จะส่งผลทำให้เราซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เข้ามาเป็นผลทางบวกนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงตัวกำหนดทางอ้อม ซึ่งมีส่วนทำให้มีการซื้อสินค้าชนิดนั้นมากขึ้นดังนั้นจึงทำให้เส้น Demand Shift ตัวขึ้นจาก เส้น d ไปเป็นเส้น d'' จึงส่งผลให้ ณ ระดับราคา P1 ก็จะมีการซื้อสินค้าได้ที่ปริมาณ Q2 แต่ถ้าระดับราคาเปลี่ยนแปลงไปเป็น P2เราจะสามารถซื้อสินค้าได้ที่ปริมาณ Q5 ดังนั้นจากรูปจะเห็นได้ว่าเส้นอุปสงค์มีการย้ายตัวทั้งเส้นจาก d เป็น d’’ ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของเส้นอุปสงค์ (Increase in Demand) ทั้งนี้สืบเนื่องมากจากสิ่งที่เป็นตัวกำหนดทางอ้อมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

      ในการศึกษาเรื่องของอุปสงค์ และอุปทาน เราจำเป็นที่จะต้องทราบถึงคุณลักษณะของสินค้า และบริการเสียก่อน ซึ่งเราสามารถแยกประเภทของสินค้า และบริการได้ดังนี้

คุณลักษณะของสินค้า (Goods)
1. สินค้าปกติ (Normal Goods) โดยทั่วไปปริมาณการซื้อแปรผกผันกับรายได้
2. สินค้าทดแทน (Substitution Goods) โดยทั่วไปหากมีการเปลี่ยนแปลงในสินค้าตัวหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสินค้าตัวหนึ่ง เช่น เนื้อหมู - เนื้อวัว , กาแฟ - ชา
3. สินค้าประกอบกัน (Complementary Goods) โดยทั่วไ ปหากมีการเปลี่ยนแปลงในสินค้าตัวหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสินค้าตัวหนึ่ง เช่น รถยนต์กับน้ำมัน , กาแฟกับน้ำตาล
4. สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) สินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อลดลงเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น มักยึดจากความรู้สึกคนเป็นหลัก เช่น เดิมบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมื่อรายได้ของคนๆนั้นเพิ่มขึ้นก็หันมาบริโภค สเต็ก แทน เป็นต้น

อ้างอิง:http://www2.nkc.kku.ac.th/bodee.p/Academics_Data/PrincipleofEconomics/micro/ChapterIII.doc



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น