วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

การประกันราคาขั้นต่ำ


การกำหนดราคาขั้นต่ำ(Minimum Control)

       มาตรการนี้มักนิยมใช้กับสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งระดับราคาสินค้าที่กําหนดโดย  อุปสงค์และอุปทานของสินค้ามักมีระดับต่ำเกินไป อาจเนื่องมาจากอุปทานมีมากเกินไป หรืออุปสงค์ที่ปรากฏในตลาดไม่ใช่อุปสงค์ที่แท้จริง อันเกิดจากการรวมตัวของผู้ซื้อเพื่อเพิ่มอํานาจการต่อรอง ความเดือดร้อนจึงตกอยู่กับผู้ผลิต (เกษตรกร) รัฐบาลจึงจําเป็นต้องเข้าช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยการกําหนดราคาขั้นต่ําของสินค้า ตามปกติราคาขั้นต่ํามักจะกําหนดให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นโยบายนี้เรียกว่า นโยบายประกันราคาหรือพยุงราคา (Price Guarantee or Price Support)
ซึ่งได้มีผู้พยายามแยกความแตกต่างระหว่างนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคา

นโยบายประกันราคา  เป็นการกําหนดราคาสินค้าให้สูงกว่าดุลยภาพเดิม โดยได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะเส้นอุปสงค์และอุปทาน เป็นการเข้าแทรกแซงราคาโดยตรง
นโยบายพยุงราคา เป็นวิธีการยกระดับราคาดุลยภาพให้สูงขึ้น โดยเพิ่มระดับอุปสงค์ให้สูงขึ้น หรือลดระดับอุปทานให้ต่ําลง โดยกลไกราคายังทํางานปกติ


อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ทั่วๆไป มักจะกล่าวถึงนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคารวมๆ กัน โดยหมายถึง การที่รัฐบาลเข้าไปกําหนดราคาให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นั่นเอง


(นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ)

      จากรูป ราคาและปริมาณดุลยภาพคือ OP0 และ OQ0 ถ้ารัฐบาลเห็นว่าราคาOP0 บาท เป็นราคาที่ต่ําเกินไป รัฐบาลก็มากําหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นเป็น OP1 และปรากฏว่าณ ระดับราคา OP1 ปริมาณการเสนอซื้อจะลดลงเหลือ OQ1 ในขณะที่ปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ทําให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) = Q1Q2 ดังนั้นการกําหนดให้มีการขายสินค้าในราคา OP1 ทําให้สินค้าจํานวนหนึ่งไม่สามารถขายได้ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบกับจํานวนสินค้าที่เหลืออยู่ ในทางปฏิบัติรัฐบาลอาจใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพื่อจัดการกับส่วนเกินของสินค้าที่เกิดขึ้น ดังนี้

(ก) รัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ  โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อ
อุปทานส่วนเกินเป็นจํานวนเงิน = OP1 × Q1Q2 = พ.ท. Q1ABQ2 และต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การเตรียมจัดยุ้งฉางและไซโลไว้ซึ่งสินค้าที่รัฐบาลรับซื้อไว้อาจนําไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เช่น
นําออกไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดอุทกภัย อัคคีภัย และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่คาดฝัน รวมทั้ง
นําออกไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลน หรือส่งไปยังต่างประเทศ

(ข) รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต  มาตรการนี้รัฐบาลปล่อยให้เกษตรกรขาย
ทั้งหมด = OQ2 ราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจซื้อทั้งหมดคือราคา OP2 ส่วนต่างระหว่างราคา OP1 และ
OP2 ซึ่งเท่ากับ P1P2 ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เท่ากับส่วนต่างของราคาคือ P1P2

ในกรณีนี้รัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน = พ.ท. P1BCP2





(นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน)

    จากมาตรการทั้ง 2 มาตรการ จะใชมาตรการใดขึ้นอยู่กับจํานวนเงินที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในมาตรการใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานมาพิจารณาประกอบด้วย

การกำหนดราคาขั้นต่ำ รัฐจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สินค้า
ชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ
โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น
- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน


ข้อมูลอ้างอิงจาก:
http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf และ
https://sites.google.com/site/krukanithasriboon/thdsxb-2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น