วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

อุปทาน



**อุปทาน (Supply)**


                    อุปทาน คือ จำนวนต่างๆ ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตพร้อมที่จะผลิตออกขาย ณ ระดับราคาต่างๆภายในระยะเวลาที่กำหนดสำหรับประเภทของอุปทานนั้นจะมีอยู่เพียงแค่ชนิดเดียวก็คืออุปทานต่อราคา(Price Supply)

กฎของอุปทาน (Law Of Supply)
ปริมาณของสินค้า และบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิต หรือพ่อค้าต้องการขาย ย่อมแปรผันโดยตรงกับระดับราคาของสินค้า และบริการชนิดนั้นเสมอ

ฟังก์ชันของอุปทาน (Function OF Supply)
Qx = f(Px)
โดยที่
Qx = ปริมาณของสินค้า X
Px = ราคาของสินค้า X

สมการโดยทั่วไป จะสมมุติให้เป็นเส้นตรง โดยเขียนในรูปแบบของสมการเส้นตรง (Linear)ได้ดังนี้
Qx = a+ bPx

                       

(แผนภาพแสดงเส้นอุปทาน)

ตัวกำหนดอุปทาน(Supply Determinants)
จากข้างต้นเราคงจะเห็นแล้วว่าอุปสงค์ในตัวสินค้า และบริการนั้นสามารถที่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นอุปทานก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอุปทานนั้นก็หมายถึงความต้องการในการขายสินค้า หรือบริการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วนั้นระดับของราคาก็จะถูกนำมามาใช้ในการพิจารณาก่อนลำดับแรก ซึ่งหมายถึงระดับผลกำไรที่ผู้ขายจะได้รับจากสินค้า และบริการชนิดนั้น หากเราจะพิจารณาว่าสิ่งใดที่เป็นตัวกำหนดอุปทานแล้วนั้น เราสามารถพิจารณาได้ดังนี้


1. ระดับราคา (Price) ระดับราคาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการตัดสินใจในการขายของผู้ผลิต หรือผู้ขายเพราะตามกฎของอุปทานก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณการขายนั้นย่อมแปรผันตรงกับระดับราคาเสมอ กล่าวคือ ถ้าระดับราคาสูงขึ้นก็จะเป็นเหตุจูงใจในการผลิต และนำสินค้าเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ด้วยเหตุผลของกำไรที่จะได้รับก็ย่อมมากขึ้นด้วย

2. เป้าหมายของธุรกิจ หรือผู้ผลิต (Business Goal) เช่น เป้าหมายของบริษัทขายยา คือ ขายยารักษาโรค แทนยาลดความอ้วน ดังนั้นจึงมีการส่งเสริมการขาย เพื่อให้ครองตลาดยารักษาโรคให้มากที่สุด

3. เทคนิคที่ใช้ผลิต (Technical) เทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการนั้นย่อมมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีในสมัยใหม่ ซึ่งเทคนิคนี้อาจจะรวมไปถึงประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงทำให้เกิดความเคยชิน หรือมีความเชี่ยวชาญได้
4. ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ทดแทนกันได้ (Substitution) สำหรับในกรณีสินค้าทดแทนนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วนั้นก็หมายถึงถ้าหาว่าสินค้าชนิดหนึ่งนั้นสามารถถูกทดแทนด้วยสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งก็จะส่งผลให้มีการลดการผลิต หรือนำออกสู่ตลาดลดลง แต่เหตุผลที่สำคัญของการนำสินค้าออกสู่ตลาดนั้นก็ต้องพิจารณาถึงระดับราคาของสินค้าอื่นๆ ที่จะเข้ามาทดแทนด้วย

5. ราคาของปัจจัยที่ใช้ผลิต (Factor Price) ราคาของปัจจัยที่ถูกใช้ในการผลิตนั้นเปรียบได้กับต้นทุนที่การผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากราคาของปัจจัยการผลิตนั้นเพิ่มสูงขึ้นก็จะส่งผลทำให้ต้นทุนของสินค้า และบริการนั้นสูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ผู้ขายจะขายสินค้า และบริการในราคาที่ต่ำก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ก็คงจะต้องขายในราคาที่สูงขึ้นทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาระดับของกำไรที่ได้รับให้คงที่

6. จำนวนผู้ผลิต หรือผู้ขาย (Player) จำนวนของผู้ขาย หรือผู้ผลิตย่อมมีผลต่อระดับของอุปทานเช่นเดียวกันเพราะว่าหากตลาดสินค้านั้นมีผู้ผลิต หรือผู้ขายจำนวนมากย่อมมีการแข่งขันในเรื่องของราคากันมากเช่นกัน

การย้ายเส้นอุปทาน (Shifts In Supply Curve)

การที่ตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม เช่น รสนิยม, ราคาสินค้าอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น หรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม


                     

(แผนภาพการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเส้นอุปทาน)

            จากรูปจะเห็นได้ว่าเมื่อตัวกำหนดโดยอ้อมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เทคโนโลยี ณ ระดับราคาคงเดิม ที่ P หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปริมาณขายจะอยู่ที่ Q แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณจากเดิมเป็น Q2 ซึ่งจะทำให้เส้น Supply เปลี่ยนแปลงไปจากเส้น s เป็น s’ ซึ่งเราเรียกว่าอุปทานเพิ่ม (Increase in Supply) ในทำนองเดียวกัน ณ ระดับราคา P แต่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณจากเดิมเป็น Q2 ซึ่งจะทำให้เส้น Supply เปลี่ยนแปลงไปจากเส้น s เป็น s’’ ซึ่งเราเรียกว่า อุปทานลด (Decrease in Supply)

อ้างอิงจาก :http://www2.nkc.kku.ac.th/bodee.p/Academics_Data/PrincipleofEconomics/micro/ChapterIII.doc







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น