วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

โปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดอินเตอร์เน็ต - 6 ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต


เว็บเบราเซอร์ (Web browser)


                         Web browser




                เว็บเบราเซอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงเว็บไซต์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นโปรแกรมสำหรับใช้เล่นอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้เว็บไซต์ต่างๆ จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ เว็บเพจ (web page) ที่สร้างด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language) 
ข้อมูลทั้งหลายของเว็บเพจจะถูกเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ  (world wide web หรือ www.)
           เว็บเบราเซอร์จึงเหมือนประตูเชื่อมต่อสู่โลกแห่งอินเตอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บต่างๆ ซึ่งวิธีการใช้งานนั้นก็แค่กรอกชื่อเว็บไซต์หรือUR (Uniform Resource Locators)ลงในช่องใส่ Address ของเบราเซอร์



6 ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต


1. Microsoft Internet Explorer

Microsoft Internet Explorer หรือ IE คือ โปรแกรมเบราเซอร์โปรแกรมหนึ่ง (ซึ่งสำหรับคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows นั้นรู้จักกันดี เพราะเป็นเบราเซอร์ที่มาจากค่ายเดียวกับ windows นั้นเอง) ใช้ในการท่องInternet เป็น Application Software ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft และพัฒนามาต่อเนื่องจนถึงเวอร์ชั่นล่าสุด นั้นคือ IE8

2. Google Chrome

Google Chrome คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ที่ใช้สำหรับเปิดเว็บไซต์โดยมี Google เป็นผู้พัฒนา ปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน Internet เป็นอย่างมากเพราะมีความปลอดภัยสูง มีโปรแกรมเสริมมากมาย โดยโปรแกรมเสริมเหล่านี้มีทั้งแบบ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่ Google พัฒนาขึ้นได้อย่างหลากหลาย การเปิดหน้าเว็บเพจทำได้อย่างรวดเร็ว Google Chrome จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว Google Chrome ยังมีการ Update อย่างสม่ำเสมอทำให้มีข้อบอกพร่องน้อยมาก ภาพด้านล่างเป็นภาพรวมของGoogle Chrome ซึ่งจะเห็นว่ามีไอค่อนแสดงอยู่ 3 ไอค่อน ประกอบด้วย Store Docs Google Drive หากคุณเคยสมัคร และมี Gmail Account อยู่แล้วสามารถเข้าสู่ระบบและใช้งานบริการต่าง ๆ ได้อย่างทันที

3. FireFox

Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ IE < Internet Explorer> นำทีมสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว ใช้งานได้สะดวก แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ต้องเปิด window ใหม่ อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle สำหรับการค้นหาข้อมูล

4. Opera

Opera เป็นเบราเซอร์แบบ All-in-one คือมีทุกอย่างมาให้ครบถ้วนในตัวมัน (มีทั้ง Email Client, IRC client, Feed Reader, BitTorrent และยังมีลูกเล่นอื่น ๆ อีกมากมาย) Opera เป็นอีกหนึ่ง web browser คล้ายๆ กับ Internet Explorer และ Firefox โดยเดิมที opera เป็น เพียง project หนึ่งเท่านั้น ต่อมาในปี 1995 จึงได้ออกมาก่อตั้งบริษัท ทำเบราเซอร์ขายOpera นั้นเป็น browser ที่โดดเด่นเสมอมา เนื่องด้วยฟังก์ชันที่ก้าวล้ำนำหน้าคนอื่น ความปลอดภัยสูง รวมไปถึงความเร็วสูงด้วย จนในช่วงหนึ่ง Opera ถึงกับโฆษณาว่าเป็น The Fastest Browser เลยทีเดียว


5. Safari

Safari เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ชาว Apple น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดเว็บไซต์ซึ่งปกติจะมีใช้ในอุปกรณ์ของ Apple อย่างเช่น Macbook, iPad, iPod, iPhone ข้อดีของโปรแกรมคือความง่ายและความรวดเร็วในการใช้งาน พร้อมดีไซน์ที่ดูเรียบง่ายแต่สวยหรูจนหลายคนติดใจ สำหรับเวอร์ชั่นอัพเดทตัวนี้ก็มีการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการทำงานของ Javascript ให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น, แก้ไขบั๊กที่พบเมื่อเปิดเว็บไซต์ที่มีการใช้งาน HTML แก้ไขบั๊กเมื่อเปิดไฟล์ PDF เป็นต้น

6. Plawan Browser

Plawan Browser เป็นเว็บบราวเซอร์ ที่ถูกพัฒนาโดยคนไทยเพื่อคนไทย ด้วยความสามารถของตัวโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับ เว็บบราวเซอร์ ชั้นแนวหน้าอื่นๆ เช่น Microsoft Internet Explorer, Netscape Navigator หรือ Opera แต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนู การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้

อีกทั้งตัวโปรแกรม Plawan Browser ยังมี ระบบ Dictionary อัจฉริยะ ที่สามารถแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยบนเว็บ พร้อมตัวอย่างการใช้ศัพท์ และประโยคในการใช้งานได้อีกด้วย ทำให้เยาวชนหรือผู้เริ่มต้นใช้งานอินเทอร์เน็ตได้รับความสะดวกในการใช้งานอย่างมาก



ข้อมูลอ้างอิง:
  • http://www.siamget.com/buyerguide/707 
  • http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2150-ie-microsoft-internet-explorer-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html 
  • http://www.ninetechno.com/a/google-chrome/818-chrome-001.html 
  • http://www.clipmass.com/story/4092 
  • http://siam5205100008.blogspot.com/2011/02/90-source-code-source-code-config-repo.html 
  • http://www.downloaddd.com/tags/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1+Safari/ 
  • http://www.plawan.com/story.php 

อินเตอร์เน็ตและประโยขน์ของอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet)


 อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้  การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
        ในปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก แต่ละคนก็ใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตไปในหลายด้านต่างๆมากมายในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งด้านการศึกษา เชิงพาณิชย์ ธุรกรรม ความบันเทิง และอื่นๆ วันนี้เราจะมากล่าวถึงประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านการศึกษา
         เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่เราสนใจ เป็นต้น ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ หรือคลังหนังสือมหาศาลนักเรียน และนักศึกษสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านธุรกิจและเชิงพาณิชย์
         เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจสามารถซื้อ – ขายสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตบริษัทหรือองค์กรต่างๆสามารถให้บริการและสนับสนุนลูกค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ ตอบปัญหาต่างๆให้แก่ลูกค้า เป็นต้น ทำการตลาด การโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต – ด้านความบันเทิง
          ค้นหา Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆได้ ฟังวิทยุผ่านเครือข่าอินเทอร์เน็ตได้ สามารถดึงดาวน์โหลด (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้นอกจากนี้ยังมีประโยชน์มีความสำคัญในรูปแบบอื่นๆอีก
1. ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเหมือนกับการส่งจดหมายแบบเดิมๆ แต่การส่งอีเมล์จะรวดเร็วกว่ามาก
2. โอนถ่ายข้อมูล ค้นหา และเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง
3. ค้นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้ ผ่าน World wide Web
4, สื่อสารด้วยข้อความ Chat เป็นการพูดคุยโดยพิมพ์ข้อความตอบกัน การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้อยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม

ข้อมูงอ้างอิง:
http://computer.bcnnv.ac.th/hnwy-kar-reiyn-ru2 และ
http://www.hitechsky.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87/

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร 



            ไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช้เชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายสู่คนได้แต่อย่างใดแต่มันคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ถูกเขียนและพัฒนาขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์สายมืด (พวกที่เขียนโปรแกรสำหรับก่ออาชญากรรมทางด้านไอที) ไวรัสนั้นเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับระบบคอมพิวเตอร์โดยจุดมุ่งหมายเริ่มแรกมาจากการกลั่นแกล้งกันเพื่อรบกวนไม่ให้ระบบคอมพิวเตอร์เป้าหมายสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปแนวคิดในการเขียนไวรัสเริ่มรุนแรงขึ้นถึงขั้นทำลายข้อมูล และโจรกรรมข้อมูลเพื่อขายในตลาดมืด (มักจะเป็นข้อมูลลูกค้าของธนาคารหรือสถาบันการเงิน)
          ในปัจจุบันไวรัสและแอนตี้ไวรัสมีการพัฒนาแทบจะเรียกว่าวันต่อวัน จนเราต้องมั่นอัพเดตโปรแกรมสแกนไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอ

 ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

             ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่รู้หรือไม่ว่าโดยพื้นฐานของมันแล้วมาจากแหล่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้
              1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมาก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

               2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses
เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป   นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป
   
                 3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) 
เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจจุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้
 
                 4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses)
 เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียวไวรัสใหม่ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึนเรื่อย ๆ

                  5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses)
เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

                    6. มาโครไวรัส (Macro viruses)
 จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น

โทษของไวรัสคอมพิวเตอร์

 ขีดความสามารถของไวรัสนั้นสามารถพัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัด ขึ้นอยู่กับว่าไวรัสตัวนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายใดไวรัสบางตัวอาจทำแค่รบกวนไม่ให้เราสามารถทำงานตามปกติได้ เช่น ล็อคเมาส์หรือหน้าจอ ทำให้เครื่องช้าลง หรือซ่อนไฟล์งาน เป็นต้น บางตัวก็ใช้สำหรับทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการเปิดประตูลับ (Back door) ของเครื่องเป้าหมายอย่างม้าโทรจันเพื่อให้สามารถควบคุมการทำงาน ไปจนถึงล้วงเอาข้อมูลออกมา ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลอ้างอิง:
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
และ
http://panwan333.blogspot.com/2013/02/blog-post_24.html?m=1

การประกันราคาขั้นต่ำ


การกำหนดราคาขั้นต่ำ(Minimum Control)

       มาตรการนี้มักนิยมใช้กับสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งระดับราคาสินค้าที่กําหนดโดย  อุปสงค์และอุปทานของสินค้ามักมีระดับต่ำเกินไป อาจเนื่องมาจากอุปทานมีมากเกินไป หรืออุปสงค์ที่ปรากฏในตลาดไม่ใช่อุปสงค์ที่แท้จริง อันเกิดจากการรวมตัวของผู้ซื้อเพื่อเพิ่มอํานาจการต่อรอง ความเดือดร้อนจึงตกอยู่กับผู้ผลิต (เกษตรกร) รัฐบาลจึงจําเป็นต้องเข้าช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยการกําหนดราคาขั้นต่ําของสินค้า ตามปกติราคาขั้นต่ํามักจะกําหนดให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นโยบายนี้เรียกว่า นโยบายประกันราคาหรือพยุงราคา (Price Guarantee or Price Support)
ซึ่งได้มีผู้พยายามแยกความแตกต่างระหว่างนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคา

นโยบายประกันราคา  เป็นการกําหนดราคาสินค้าให้สูงกว่าดุลยภาพเดิม โดยได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะเส้นอุปสงค์และอุปทาน เป็นการเข้าแทรกแซงราคาโดยตรง
นโยบายพยุงราคา เป็นวิธีการยกระดับราคาดุลยภาพให้สูงขึ้น โดยเพิ่มระดับอุปสงค์ให้สูงขึ้น หรือลดระดับอุปทานให้ต่ําลง โดยกลไกราคายังทํางานปกติ


อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ทั่วๆไป มักจะกล่าวถึงนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคารวมๆ กัน โดยหมายถึง การที่รัฐบาลเข้าไปกําหนดราคาให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นั่นเอง


(นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ)

      จากรูป ราคาและปริมาณดุลยภาพคือ OP0 และ OQ0 ถ้ารัฐบาลเห็นว่าราคาOP0 บาท เป็นราคาที่ต่ําเกินไป รัฐบาลก็มากําหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นเป็น OP1 และปรากฏว่าณ ระดับราคา OP1 ปริมาณการเสนอซื้อจะลดลงเหลือ OQ1 ในขณะที่ปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ทําให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) = Q1Q2 ดังนั้นการกําหนดให้มีการขายสินค้าในราคา OP1 ทําให้สินค้าจํานวนหนึ่งไม่สามารถขายได้ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบกับจํานวนสินค้าที่เหลืออยู่ ในทางปฏิบัติรัฐบาลอาจใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพื่อจัดการกับส่วนเกินของสินค้าที่เกิดขึ้น ดังนี้

(ก) รัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ  โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อ
อุปทานส่วนเกินเป็นจํานวนเงิน = OP1 × Q1Q2 = พ.ท. Q1ABQ2 และต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การเตรียมจัดยุ้งฉางและไซโลไว้ซึ่งสินค้าที่รัฐบาลรับซื้อไว้อาจนําไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เช่น
นําออกไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดอุทกภัย อัคคีภัย และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่คาดฝัน รวมทั้ง
นําออกไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลน หรือส่งไปยังต่างประเทศ

(ข) รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต  มาตรการนี้รัฐบาลปล่อยให้เกษตรกรขาย
ทั้งหมด = OQ2 ราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจซื้อทั้งหมดคือราคา OP2 ส่วนต่างระหว่างราคา OP1 และ
OP2 ซึ่งเท่ากับ P1P2 ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เท่ากับส่วนต่างของราคาคือ P1P2

ในกรณีนี้รัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน = พ.ท. P1BCP2





(นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน)

    จากมาตรการทั้ง 2 มาตรการ จะใชมาตรการใดขึ้นอยู่กับจํานวนเงินที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในมาตรการใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานมาพิจารณาประกอบด้วย

การกำหนดราคาขั้นต่ำ รัฐจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สินค้า
ชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ
โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น
- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน


ข้อมูลอ้างอิงจาก:
http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf และ
https://sites.google.com/site/krukanithasriboon/thdsxb-2


การประกันราคาขั้นสูง

                                                                                                                         
กําหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Control)

              เป็นนโยบายที่รัฐบาลนํามาใช้เมื่อเห็นว่าราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เป็นราคาที่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะถ้าเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ ดังนั้นรัฐบาลจึงจําเป็นจะต้องหาทางช่วยแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการกําหนดราคาขั้นสูง โดยทั่วไปราคาขั้นสูงมักต่ํากว่าราคาดุลยภาพ นโยบายดังกล่าวมักเรียกกันว่า นโยบายควบคุมราคา (Price Control Policy)

(นโยบายการควบคุมราคา)

        จากรูป ราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยกลไกราคา คือ OP0 ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลเห็นว่าสูงเกินไป จึงเข้าแทรกแซงราคาสินค้าให้ต่ําลงเป็น OP1 มีผลทําให้ปริมาณการเสนอซื้อเป็น OQ1 แต่ปริมาณการเสนอขายกลับลดลงเป็น OQ2 เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) = O1Q2 ก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า = Q1Q2

การใช้นโยบายประกันราคาขั้นสูงของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลตามมาคือ

(ก) จะเกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน ใครมาทีหลังไม่ได้ก่อให้เกิดการรอ
คิวเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเวลา ถ้าคิดเป็นเงินแล้วอาจสูงกว่าราคาที่ซื้อขาย

(ข) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพของสินค้า หรือการให้บริการหลังขาย

(ค) เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้ากันอย่างลับๆ ที่เรียกกันว่า ตลาดมืด (Black Market)
โดยราคาที่ซื้อขายจะสูงกว่าราคาควบคุม แต่ไม่สูงกว่าราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายในที่นี้ OP2

เพื่อให้มาตรการการกําหนดราคาขั้นสูงทํางานได้รัฐบาลมักจะใช้นโยบายควบคู่กันไป คือ
(ก) นโยบายการปันส่วน (Rationing Policy) เพื่อกระจายสินค้าที่มีไม่เพียงพอให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
 โดยวิธีการแจกคูปอง ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) การนําเข้า (Import) เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ขาดแคลนทําให้ Supply ของสินค้าเพิ่มขึ้น
 เช่นในกรณีที่รัฐบาลเคยนําเข้าปูนซีเมนต์จากจีน หรือน้ําตาลจากอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนสินค้าดังกล่าว

การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน จากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด



ข้อมูลอ้างอิงจาก:
http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf และ
https://sites.google.com/site/krukanithasriboon/thdsxb-2







ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและอุปทานต่อราคา


 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์

       ความยืดหยุ่นเป็นค่าที่ชี้ให้เห็นว่าปริมาณเสนอซื้อหรือปริมาณเสนอขายมีความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์หรืออุปทาน ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงมากเรียกว่ามีความยืดหยุ่นมาก ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงน้อยเรียกว่ามีความยืดหยุ่นน้อย ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าไม่มีความยืดหยุ่นเลย

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ หมายถึง เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อตัวแปรอื่นๆที่เป็นตัวกำหนดปริมาณเสนอซื้อนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ ซึ่งเราจะศึกษากัน 3 ตัวคือ
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้
  • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น


ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) หมายถึงเปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่มีผู้เสนอซื้อในขณะใดขณะหนึ่ง เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซนต์ โดยกำหนดให้สิ่งอื่นๆคงที่

Ed = เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเสนอซื้อ / เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
Ed = (100ΔQ/Q) / (100ΔP/P)
Ed = (ΔQ/ΔP)(P/Q)

การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาแบบจุด

เป็นการคำนวณหาความยืดหยุ่น ณจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ มีสูตรคือ

Ed = (ΔQ/ΔP)(P/Q)
Ed = (Q2-Q1/P2-P1)(P1/Q1)

การคำนวณความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาแบบช่วง

เป็นการคำนวณหาความยืดหยุ่น ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งบนเส้นอุปสงค์ มีสูตรคือ

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((P2+P1)(P2-P1))

  • ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่คำนวณได้ จะมีค่าเป็นลบเสมอ เนื่องจากฏ Law of Demand ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงสวนทางกับอุปสงค์ตลอดเวลา
  • การนำมาใช้จะใช้เป็นเลขบวก (Absolute)
  • หากมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่า มีความยืดหยุ่นมาก มักจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย
  • หากมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่า มีความยืดหยุ่นน้อย มักจะเป็นสินค้าจำเป็น
  • หากมีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาจะไม่มีผลต่อรายรับรวม ลักษณะกราฟจะเป็นเส้นโค้ง Rectanguar Hyperbola
  • หากมีค่าเท่ากับ 0 แสดงว่า ไม่มีความยืดหยุ่นเลย ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าตลอดไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไร จึงเป็นสินค้าจำเป็นอย่างยิ่ง
  • หากมีค่าเป็น ∞ แสดงว่า มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าที่ราคานั้นๆ อย่างไม่จำกัดจำนวน แต่จะไม่ซื้อเลยหากราคาขยับขึ้นเพียงนิดเดียว มักจะเป็นสินค้าที่มีผู้ขายเป็นจำนวนมาก

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาและรายรับรวม

รายรับรวม (ตัวย่อ : TR) สามารถคำนวณได้จากราคาสินค้าคูณกับปริมาณขายทั้งหมด
  • กรณี Ed = 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจะไม่มีผลต่อ TR
  • กรณี Ed > 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จะทำให้ยอดขายลดลงมาก ทำให้ TR ลดลง ส่วนการลดราคาเพียงเล็กน้อย จะให้ผลตรงกันข้าม
  • กรณี Ed < 1 ราคาที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ยอดขายลดลงไม่มากนัก ทำให้ได้ TR เพิ่มขึ้น ส่วนการลดราคาจะทำให้ TR ลดลง

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้

เป็นค่าความยืดหยุ่นที่พิจารณาความสัมพันธ์ของรายได้กับความต้องการซื้อ มีสูตรดังนี้

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((Y2+Y1)(Y2-Y1))

  • ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ สามารถเป็นได้ทั้งค่า + และ - ขึ้นอยู่กับชนิดสินค้า ถ้าเป็นสินค้าปกติ จะมีค่าเป็นบวก ส่วนสินค้าด้อยคุณภาพ จะมีค่าเป็นลบ

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าชนิดอื่น

Ed = ((Q2-Q1)/(Q2+Q1))((PY2+PY1)(PY2-PY1))


  • เรียกอีกอย่างว่า ความยืดหยุ่นไขว้
  • ถ้ามีค่าเป็นบวก แสดงว่าเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน
  • ถ้ามีค่าเป็นลบ แสดงว่าเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้
ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา


  • สินค้าที่ทดแทนกันได้
  • มูลค่าสินค้าคิดเป็นสัดส่วนของรายได้
  • สินค้าฟุ่นมเฟือยและสินค้าจำเป็น
  • ปริมาณอุปสงค์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นถ้าผู้บริโภคมีเวลาพิจารณามากขึ้น



ความยืดหยุ่นของอุปทาน

ความยืดหยุ่นของอุปทาน หมายถึงค่าที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอุปทานและราคา กล่าวคือ หากราคาเปลี่ยนแปลงไป 1 เปอร์เซ็นต์ ความต้องการขายจะเปลี่ยนแปลงกี่เปอร์เซนต์

Es = ปริมาณการเปลี่ยนแปลงปริมาณเสนอขายสินค้า/เปอร์เซนต์การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

การคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปทาน

สามารถคำนวณได้ 2 ลักษณะคือ

  • ความยืดหยุ่นแบบจุด
  • ความยืดหยุ่นแบบช่วง

ปัจจัยกำหนดค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา

ปัจจัยที่สมีอิทธิพลต่อความยืดหยุ่นของอุปทานคือระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า หากผู้ผลิตมีเวลามากก็จะมีความยืดหยุ่นมาก

  • ช่วงเวลาสั้นมากจนผู้ผลิตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณการเสนอขายได้ กราฟอุปทานจะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนปริมาณ
  • ช่วงเวลาระยะสั้น กราฟอุปทานจะมีความชั้นมาก
  • ช่วงเวลาระยะยาว กราฟอุปทานจะมีความชั้นน้อย

ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่น


  • ทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์/อุปทาน
  • ทำให้ธุรกิจสามาถทราบถึงรายรับรวมอันเนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ทำให้ทราบถึงความจำเป็นของสินค้าต่างๆที่มีต่อผุ้บริโภค
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆได้ เช่น ความยืดหยุ่นของอุปทานเงินฝากต่ออัตราดอกเบี้ย

อ้างอิงข้อมูลจาก:
http://mba.sorrawut.com/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_3_%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

เครือข่ายคอมพิวเตอร์



เครือข่ายคอมพิวเตอร์


      

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น


การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว


การทำสำเนา(copy) หรือ บันทึก(save) ข้อมูลลงในแผ่นดิสก์(floppy disk) แล้วส่งให้คนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันก่อนที่จะมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนับว่าเป็นวิธีที่เสียเวลาและยุ่งยากน้อยกว่าการส่งเป็นแผ่นกระดาษ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล เพราะคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์ได้เลย การใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้เรียกว่า sneakernet หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล การใช้เครือข่ายแบบ sneakernet นี้ ถือว่ายังช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่บ้างในองค์กรที่ไม่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันโดยสายสัญญาณ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องจะเร็วมากเนื่องจากการเดินทางของข้อมูลผ่านสายสัญญาณนี้ จะมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะอยู่ห่างกันแค่ไหน การแลกเปลี่ยนข้อมูลก็จะเร็วกว่าการใช้แผ่นดิสก์มาก เครือข่ายแบบนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ



อ้างอิง: http://guru.sanook.com/2287/

รูปภาพอ้างอิง https://www.google.com.mx/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwj_xp3Clc7LAhVCWh4KHdpIA00QjRwIBw&url=http%3A%2F%2Fquotesgram.com%2Fcomputer-networking-quotes%2F&psig=AFQjCNH44ra9-GVCIQP_0KubVbUFonqwTQ&ust=1458525619605280










วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

อุปทาน



**อุปทาน (Supply)**


                    อุปทาน คือ จำนวนต่างๆ ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตพร้อมที่จะผลิตออกขาย ณ ระดับราคาต่างๆภายในระยะเวลาที่กำหนดสำหรับประเภทของอุปทานนั้นจะมีอยู่เพียงแค่ชนิดเดียวก็คืออุปทานต่อราคา(Price Supply)

กฎของอุปทาน (Law Of Supply)
ปริมาณของสินค้า และบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิต หรือพ่อค้าต้องการขาย ย่อมแปรผันโดยตรงกับระดับราคาของสินค้า และบริการชนิดนั้นเสมอ

ฟังก์ชันของอุปทาน (Function OF Supply)
Qx = f(Px)
โดยที่
Qx = ปริมาณของสินค้า X
Px = ราคาของสินค้า X

สมการโดยทั่วไป จะสมมุติให้เป็นเส้นตรง โดยเขียนในรูปแบบของสมการเส้นตรง (Linear)ได้ดังนี้
Qx = a+ bPx

                       

(แผนภาพแสดงเส้นอุปทาน)

ตัวกำหนดอุปทาน(Supply Determinants)
จากข้างต้นเราคงจะเห็นแล้วว่าอุปสงค์ในตัวสินค้า และบริการนั้นสามารถที่จะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นอุปทานก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอุปทานนั้นก็หมายถึงความต้องการในการขายสินค้า หรือบริการ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วนั้นระดับของราคาก็จะถูกนำมามาใช้ในการพิจารณาก่อนลำดับแรก ซึ่งหมายถึงระดับผลกำไรที่ผู้ขายจะได้รับจากสินค้า และบริการชนิดนั้น หากเราจะพิจารณาว่าสิ่งใดที่เป็นตัวกำหนดอุปทานแล้วนั้น เราสามารถพิจารณาได้ดังนี้


1. ระดับราคา (Price) ระดับราคาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการตัดสินใจในการขายของผู้ผลิต หรือผู้ขายเพราะตามกฎของอุปทานก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณการขายนั้นย่อมแปรผันตรงกับระดับราคาเสมอ กล่าวคือ ถ้าระดับราคาสูงขึ้นก็จะเป็นเหตุจูงใจในการผลิต และนำสินค้าเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ด้วยเหตุผลของกำไรที่จะได้รับก็ย่อมมากขึ้นด้วย

2. เป้าหมายของธุรกิจ หรือผู้ผลิต (Business Goal) เช่น เป้าหมายของบริษัทขายยา คือ ขายยารักษาโรค แทนยาลดความอ้วน ดังนั้นจึงมีการส่งเสริมการขาย เพื่อให้ครองตลาดยารักษาโรคให้มากที่สุด

3. เทคนิคที่ใช้ผลิต (Technical) เทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้า และบริการนั้นย่อมมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีในสมัยใหม่ ซึ่งเทคนิคนี้อาจจะรวมไปถึงประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่เคยปฏิบัติมาก่อน จึงทำให้เกิดความเคยชิน หรือมีความเชี่ยวชาญได้
4. ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ทดแทนกันได้ (Substitution) สำหรับในกรณีสินค้าทดแทนนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วนั้นก็หมายถึงถ้าหาว่าสินค้าชนิดหนึ่งนั้นสามารถถูกทดแทนด้วยสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งก็จะส่งผลให้มีการลดการผลิต หรือนำออกสู่ตลาดลดลง แต่เหตุผลที่สำคัญของการนำสินค้าออกสู่ตลาดนั้นก็ต้องพิจารณาถึงระดับราคาของสินค้าอื่นๆ ที่จะเข้ามาทดแทนด้วย

5. ราคาของปัจจัยที่ใช้ผลิต (Factor Price) ราคาของปัจจัยที่ถูกใช้ในการผลิตนั้นเปรียบได้กับต้นทุนที่การผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากราคาของปัจจัยการผลิตนั้นเพิ่มสูงขึ้นก็จะส่งผลทำให้ต้นทุนของสินค้า และบริการนั้นสูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ผู้ขายจะขายสินค้า และบริการในราคาที่ต่ำก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ก็คงจะต้องขายในราคาที่สูงขึ้นทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาระดับของกำไรที่ได้รับให้คงที่

6. จำนวนผู้ผลิต หรือผู้ขาย (Player) จำนวนของผู้ขาย หรือผู้ผลิตย่อมมีผลต่อระดับของอุปทานเช่นเดียวกันเพราะว่าหากตลาดสินค้านั้นมีผู้ผลิต หรือผู้ขายจำนวนมากย่อมมีการแข่งขันในเรื่องของราคากันมากเช่นกัน

การย้ายเส้นอุปทาน (Shifts In Supply Curve)

การที่ตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม เช่น รสนิยม, ราคาสินค้าอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น หรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม


                     

(แผนภาพการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเส้นอุปทาน)

            จากรูปจะเห็นได้ว่าเมื่อตัวกำหนดโดยอ้อมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เทคโนโลยี ณ ระดับราคาคงเดิม ที่ P หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปริมาณขายจะอยู่ที่ Q แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณจากเดิมเป็น Q2 ซึ่งจะทำให้เส้น Supply เปลี่ยนแปลงไปจากเส้น s เป็น s’ ซึ่งเราเรียกว่าอุปทานเพิ่ม (Increase in Supply) ในทำนองเดียวกัน ณ ระดับราคา P แต่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณจากเดิมเป็น Q2 ซึ่งจะทำให้เส้น Supply เปลี่ยนแปลงไปจากเส้น s เป็น s’’ ซึ่งเราเรียกว่า อุปทานลด (Decrease in Supply)

อ้างอิงจาก :http://www2.nkc.kku.ac.th/bodee.p/Academics_Data/PrincipleofEconomics/micro/ChapterIII.doc







อุปสงค์



**อุปสงค์ (Demand)**

       อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการสำหรับสินค้า และบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยทั่วๆ ไปแล้วเราสามารถที่จะ แบ่งประเภทของอุปสงค์ได้ดังต่อไปนี้
1.อุปสงค์ต่อราคา (Price Demand)*
2.อุปสงค์ต่อรายได้ (Income Demand)
3.อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่กำลังพิจารณาอยู่ (Cross Demand)

        แต่ในที่นี้เราจะให้ความสนใจในเรื่องของอุปสงค์ต่อราคา ทั้งนี้เนื่องมาจากอุปสงค์ชนิดนี้มักจะมีการกล่าวถึงมากที่สุด ซึ่งก็คือ จำนวนของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งคำว่าต้องการซื้อ มิใช่เป็นความต้องการธรรมดา (Need) แต่เป็นความต้องการที่จะมีอำนาจซื้อ(Purchasing Power)โดยมีเงินเพียงพอ และมีความเต็มใจที่จะซื้อ(Ability and Willingness) (อ้างในวันรักษ์มิ่งมณีนาคิน หน้า 23)

กฎของอุปสงค์ (Law Of Demand)

        ปริมาณของสินค้า และบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อย่อมแปรผกผัน (Inverse Relation) กับระดับราคาของสินค้า และบริการชนิดนั้นเสมอ (ยังผลให้ Demand มีลักษณะทอดต่ำลงจากซ้าย มาขวา และมีความชันเป็นลบ)

ฟังก์ชันของอุปสงค์ (Function OF Demand)

-Qx = f(Px)
โดยที่
Qx = ปริมาณของสินค้า X
Px = ราคาของสินค้า X

ถึงตอนนี้คงจะเกิดคำถามที่ว่าแล้วเหตุใดปริมาณการซื้อจึงต้องแปรผกผันกับราคา ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้ว ถ้าหากเราตอบคำถามนี้โดยใช้ความคิดโดยทั่วๆไปก็จะพบว่าการที่ราคากับปริมาณการซื้อนั้นมีความสัมพันธ์แบบผกผัน สิ่งที่เราต้องรู้จักคือ ในธรรมชาติพฤติกรรมของมนุษย์นั้นไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายที่สูง หรือพูดง่ายๆ ว่าชอบสินค้าราคาถูก แต่ถ้าหากตอบในเชิงวิชาการแล้วนั้นเราสามารถพอที่จะสรุปได้ว่าเหตุที่ทำให้ปริมาณซื้อกับราคานั้นแปรผันกันแบบผกผันคือเหตุที่ปริมาณซื้อแปรผกผันกับราคา
1.ผลทางรายได้ (Income Effect) ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่สินค้านั้นมีราคาขึ้น แต่รายได้ของแต่ละบุคคลนั้นคงที่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป จึงส่งผลทำให้การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งต้องคิดให้รอบคอบอยู่เสมอ
2.ผลทางการทดแทน (Substitution effect) สืบเนื่องมาจากการใช้สินค้าชนิดอื่นๆ เข้ามา ทดแทนสินค้าชนิดเดิมที่เคยบริโภคอยู่ เช่น การบริโภคเนื้อหมู แทนเนื้อวัว เป็นต้น ซึ่งในการบริโภคสินค้าทดแทนเหล่านี้อาจจะสืบเนื่องมาจากราคาของสินค้าชนิดหนึ่งที่แพงขึ้น จึงส่งผลทำให้ผู้บริโภคต้องหันไปบริโภคสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความพอใจเท่ากันกับสินค้าชนิดนั้นแทน
           จากที่กล่าวมาข้างต้นที่กล่าวว่าราคา และปริมาณนั้นมีความสัมพันธ์อย่างแปรผกผันกันนั้นเราสามารถที่จะแสดงออกมาให้เห็นได้ดังรูปต่อไปนี้


                             

       (แผนภาพแสดงถึงลักษณะของเส้นอุปสงค์)



ตัวกำหนดอุปสงค์ (Demand Determinants)
         จากการที่จะพิจารณาว่าอุปสงค์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต่อสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่าในแต่ละบุคคลนั้นย่อมเห็นความสำคัญ หรือมีความต้องการในตัวสินค้าชนิดนั้นไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วนั้นหากเราจะพิจารณาว่าสิ่งใดที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์ เราสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1. รสนิยม (Taste) ในที่นี้อาจจะเป็นลักษณะของแฟชั่นนิยม เช่น ในยุคปัจจุบันคนชอบความสะดวกสบายจึงส่งผลให้เครื่องมือเครื่องใช้ที่สามารถอำนวยความสะดวกเช่นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆหรือรถยนต์รุ่นใหม่ มีราคาที่สูงได้

2. ระดับราคา (Price) ระดับราคาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการตัดสินใจในการบริโภคของผู้บริโภค เพราะตามกฎของอุปสงค์ก็กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ปริมาณการซื้อและระดับราคานั้นจะแปรผันกันอย่างผกผัน กล่าวคือ ถ้าระดับราคาลดลง ปริมาณการซื้อก็เพิ่มขึ้นได้

3. ระดับรายได้ (บุคคล/ครัวเรือน) (Income) ระดับรายได้ก็เช่นเดียวกัน ในระดับรายได้นี้จะเป็นสิ่งที่เป็นตัวกำหนดของบุคคล หรือครัวเรือนว่ามีศักยภาพในการซื้อมากน้อย ต่างกันเพียงใด

4. จำนวนประชากร (Population) จำนวนประชากรนั้นหมายถึงจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งถ้าหากมีมากความต้องการสินค้า และบริการก็ย่อมที่จะมากขึ้นไปด้วย

5. สภาพการกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจ (Income Distribution in Economy System)ในเรื่องของการกระจายรายได้ของประชากรในแต่ละระบบเศรษฐกิจนั้นย่อมแตกต่างกันถ้าหากว่าในระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ นั้นมีช่องว่างระหว่างคนรวย และคนจนที่แตกต่างกันมากก็จะทำให้มีผลต่ออุปสงค์เช่นเดียวกัน

6. ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ ที่ทดแทนกันได้ (Substitution Goods) สำหรับในกรณีสินค้าทดแทนนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมนำไปพัวพันกับราคาของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น เนื้อหมู่ เนื้อวัว แต่ที่จริงแล้วนั้นในทรรศนะของผู้เขียนสิ่งเหล่านี้เป็นการดูที่ความยากง่ายในการแสวงหาสินค้าที่สามารถนำมาตอบสนองความต้องการได้ใกล้เคียงกันเสียมากกว่า เช่น เนื้อหมู่ เนื้อวัว เป็นต้น

7. ฤดูกาล (Season) สิ่งที่กล่าวว่าฤดูการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของ ลม ฟ้า อากาศ ที่มีผลต่อการกำหนดตัวของอุปสงค์ และระดับราคาของสินค้าชนิดนั้นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากสินค้าใดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่ว่าหากไม่อยู่ในฤดูกาล ก็อาจจะทำให้มีราคาสูงได้ แต่ว่าปริมาณการซื้อนั้นอาจจะไม่มากนัก แต่ถ้าหากอยู่ในฤดูกาลแล้วนั้นก็จะส่งผลทำให้ราคาลดต่ำลงได้ ทำให้ปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้นได้

การย้ายเส้นอุปสงค์ (Shifts In Demand Curve)
          การที่ตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม เช่น รสนิยม, ราคาสินค้าอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปมีผลทำให้ปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้น หรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม


                         

(แผนภาพการเพิ่มขึ้นของเส้นอุปสงค์) 

            จากรูปจะเห็นได้ว่าจากเดิมเส้นอุปสงค์ในการซื้อสินค้า ถ้าหากระดับราคาอยู่ที่ P เราจะสามารถซื้อสินค้าที่ปริมาณ Q แต่ต่อมามีเหตุการณ์ที่มีผลทางบวกต่อสินค้า และบริการที่เรากำลังพิจารณาอยู่ ก็จะส่งผลทำให้เราซื้อสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เข้ามาเป็นผลทางบวกนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงตัวกำหนดทางอ้อม ซึ่งมีส่วนทำให้มีการซื้อสินค้าชนิดนั้นมากขึ้นดังนั้นจึงทำให้เส้น Demand Shift ตัวขึ้นจาก เส้น d ไปเป็นเส้น d'' จึงส่งผลให้ ณ ระดับราคา P1 ก็จะมีการซื้อสินค้าได้ที่ปริมาณ Q2 แต่ถ้าระดับราคาเปลี่ยนแปลงไปเป็น P2เราจะสามารถซื้อสินค้าได้ที่ปริมาณ Q5 ดังนั้นจากรูปจะเห็นได้ว่าเส้นอุปสงค์มีการย้ายตัวทั้งเส้นจาก d เป็น d’’ ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของเส้นอุปสงค์ (Increase in Demand) ทั้งนี้สืบเนื่องมากจากสิ่งที่เป็นตัวกำหนดทางอ้อมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

      ในการศึกษาเรื่องของอุปสงค์ และอุปทาน เราจำเป็นที่จะต้องทราบถึงคุณลักษณะของสินค้า และบริการเสียก่อน ซึ่งเราสามารถแยกประเภทของสินค้า และบริการได้ดังนี้

คุณลักษณะของสินค้า (Goods)
1. สินค้าปกติ (Normal Goods) โดยทั่วไปปริมาณการซื้อแปรผกผันกับรายได้
2. สินค้าทดแทน (Substitution Goods) โดยทั่วไปหากมีการเปลี่ยนแปลงในสินค้าตัวหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสินค้าตัวหนึ่ง เช่น เนื้อหมู - เนื้อวัว , กาแฟ - ชา
3. สินค้าประกอบกัน (Complementary Goods) โดยทั่วไ ปหากมีการเปลี่ยนแปลงในสินค้าตัวหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสินค้าตัวหนึ่ง เช่น รถยนต์กับน้ำมัน , กาแฟกับน้ำตาล
4. สินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) สินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อลดลงเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น มักยึดจากความรู้สึกคนเป็นหลัก เช่น เดิมบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมื่อรายได้ของคนๆนั้นเพิ่มขึ้นก็หันมาบริโภค สเต็ก แทน เป็นต้น

อ้างอิง:http://www2.nkc.kku.ac.th/bodee.p/Academics_Data/PrincipleofEconomics/micro/ChapterIII.doc



























วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

การศึกษาไทย ในกลุ่มอาเซียน


เปรียบเทียบลำดับการศึกษาไทย ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2012-2015 จากรายงานของ WEF


       
การเปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2012-2015 จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) ในรายงานประจำปีการเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันได้ของประเทศต่างๆ ที่เลือกมาศึกษารวม 144 ประเทศ ชื่อ Global Competitiveness Report ที่เผยแพร่โดย ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2557 ชี้คุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ยั้งรั้งท้ายอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

        รายงานของปี 2014-2015 โดยสรุปปรากฏว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันได้ของไทยไม่เลวนัก อยู่เป็นอันดับที่ 31 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ตามหลัง สิงคโปร์ซึ่งอยู่อันดับ 2 ของโลก และมาเลเซีย อันดับ 20

        อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเฉพาะดัชนีด้านการศึกษาแล้ว จะเห็นว่า คุณภาพของการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยอยู่ที่ อันดับ 7 ของอาเซียน (ปีที่แล้วอยู่อันดับ 6) และคุณภาพของระบบอุดมศึกษา อยู่ที่อันดับ 8 แม้ว่าขีดความสามารถด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์จะค่อนข้างดี คืออยู่ที่อันดับ 5 ก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ว่าไทยร่ำรวยเป็นที่ 3 ของอาเซียน โดยคิดจากตัวเลขค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวประชากร (GDP per Capita) กลับจะเห็นว่าประเทศที่ยากจนกว่าเราสามารถจัดการศึกษาได้ดีกว่า

         ประเด็นที่น่าสนใจพิเศษ คือ
1. มีการจัดให้คุณภาพของการศึกษาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ของสิงคโปร์ ดีเป็นอันดับ 1 ของโลก
2. การศึกษาพื้นฐานและอุดมศึกษาของไทย อยู่อันดับต่ำกว่าของ สปป.ลาว ขณะที่อุดมศึกษาของไทยก็มีอันดับต่ำกว่าทั้งลาวและกัมพูชา


Download รายงานปี 2014-2015 ฉบับสมบูรณ์ความยาว 548 หน้า ได้ที่ :
[http://www3.weforum.org/docs/WEF_GlobalCompetitivenessReport_2014-15.pdf]


ดูรายละเอียดตามตารางที่ 1-4 ตัวเลขแสดงอันดับในอาเซียน และตามดัวยตัวเลขในวงเล็บซึ่งแสดงอันดับโลกจาก 144 ประเทศ


เปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2012-2013



เปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2013-2014



เปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 2014-2015



เปรียบเทียบดัชนีคุณภาพการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน เปรียบเทียบ 3 ปี 2012-2014





ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : https://www.facebook.com/DrPavich?fref=nf

อ้างอิงจาก http://www.anantasook.com/quality-of-thai-education-wef-report/

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

5 วิธีมีความสุขได้โดยไม่ต้อง " เพอร์เฟ็กต์ "

        ใครๆ ก็อยากจะมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบทั้งหล่อ สวย รวย ฉลาด สมปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น ทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่า คุณสมบัติที่เพียบพร้อมสมบูรณ์จะทำให้ชีวิตมีความสุข และได้รับการยอมรับจากสังคม
บางคนจึงตั้งความหวังในชีวิตเอาไว้สูงเสมอจนเข้าขั้นเสพติด แต่รู้หรือไม่ว่า การทำตัวเป็นคนสมบูรณ์แบบตลอดเวลาอาจทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน!
การเสพติดความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ถือเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นแต่ไม่รู้ตัว รู้หรือไม่ว่ายิ่งพยายามทำตัวเป็นคนสมบูรณ์แบบมากเท่าไหร่ ความสุขก็ยิ่งลดน้อยลงมาขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญความสมบูรณ์แบบนี่แหละที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเครียด ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของโรคร้ายอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

10 สัญญาณที่บอกว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้

1. คุณรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้รับรางวัลหรือมีคนชื่นชมคุณต่อหน้าคนอื่น

2. คุณรับไม่ได้ที่โดนตำหนิ และพยายามแก้ตัวอยู่เสมอเพื่อให้พ้นจากคำตำหนินั้น

3. ทุกครั้งที่เห็นคนอื่นผิดพลาดหรือเสียหน้า คุณจะรู้สึกดีและมักบอกต่อเรื่องเหล่านั้นให้คนรอบข้างฟัง

4. คุณไม่ยอมเปิดเผยความรู้สึกหรือเรื่องส่วนตัวให้คนอื่นฟังมากนัก เพราะกลัวคนอื่นจะพบว่าคุณยังดีไม่พอ

5. คุณไม่กล้าเสนองาน แต่งตัวหรือคิดอะไรนอกกรอบ เพราะกลัวความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

6. เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น คุณมักจะคิดซ้ำไปซ้ำมา ร้องไห้ และไม่ยอมให้อภัยตัวเองง่ายๆ

7. เมื่อคุณสะดุดล้ม ทักคนผิด เดินชนกระจก หรือแม้แต่พลาดในเรื่องเล็กๆ อย่างท้องร้องหรือเรอในที่สาธารณะ คุณจะรู้สึกเสียหน้าแล้วรีบเก๊กทำเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

8. เมื่อทำแบบทดสอบที่เกี่ยวกับตัวคุณ คุณจะรู้สึกเครียดและใช้เวลานานมากในการทำเครื่องหมายหน้าช่อง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

9. เมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับข้อดีของตัวเอง คุณมักให้คำตอบแบบที่สังคมคาดหวัง เช่น เป็นคนตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน

10. คุณมักตั้งเป้าหมายในชีวิตให้สูงไว้เสมอ โดยโฟกัสเรื่องที่ยังทำไม่สำเร็จ และเมื่อทำสำเร็จแล้วคุณก็จะขยับเป้าหมายให้ไกลมากขึ้นไปเรื่อยๆ





ถ้าใครอ่านถึงตรงนี้แล้วรู้สึกเหมือนกำลังมองเห็นตัวเอง อย่าเพิ่งตกใจ ลองมาดูวิธีการใช้ชีวิตแบบมีความสุขง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ

1. หัดให้อภัยตัวเอง
ทุกครั้งที่ทำผิดพลาดหรือทำอะไรไม่ได้อย่างใจ ต้องเลิกโทษว่าเป็นความผิดพลาดตัวเอง (แม้ความผิดพลาดนั้นจะเกิดจากเราจริงๆ) ให้คิดว่า เราได้ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว หัดยอมรับในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ เพราะการคิดวนเวียนไปมาซ้ำซากนั้น ไม่ได้ทำให้ปัญหาจบสิ้นไป มีแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์ใจเพิ่มมากขึ้น

2. หยุดเปรียบเทียบ
อย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเด็กเกรด 4 ที่อยู่หน้าห้อง คนเก่งที่สุดในที่ทำงาน หรือเพื่อนที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่ม เพราะแท้จริงแล้วเขาเหล่านั้นอาจไม่มีความสุขในชีวิตเลยก็ได้!…ลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ โดยหันไปมองคนที่ใช้ชีวิตธรรมดา แต่หัวเราะร่าได้ทุกวันแทนดีกว่า

3. พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส
เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกเสียหน้าหรืออับอาย เช่น ถูกตำหนิต่อหน้าคนอื่น หรือถูกแซวแรงๆ จนหน้าม้าน แทนที่คุณจะแอบเสียใจหรือน้อยใจกับคำพูดนั้น ลองเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ว่า แท้จริงเขาคงปรารถนาดี อยากให้เราปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น เพียงแต่เขาพูดไม่เป็นและไม่รู้จักกาลเทศะ เมื่อมองได้อย่างนี้ ใจของคุณก็จะเป็นสุขด้วยความคิดบวกของตนเอง

4. ลดความคาดหวัง
การตั้งความคาดหวังในชีวิตมากๆ มีแต่จะทำให้เป็นทุกข์ใจ และเมื่อไหร่ที่เราเป็นทุกข์ รัศมีความทุกข์ก็จะแผ่ไปยังคนรอบข้างด้วย ทำให้ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ ฉะนั้นเราจึงควรลดความคาดหวังลง และเมื่อเราไม่คาดหวังกับตัวเองมากนัก เราก็จะรู้สึกสนุกกับสิ่งที่เราทำมากยิ่งขึ้น…เผลอๆ ผลลัพธ์ที่ตามมาอาจจะดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ

5. มองหาความสุขเล็กๆ รอบตัว
การจ้องจะไปให้ถึงเป้าหมายตลอดเวลา อาจทำให้เราพลาดหลายสิ่งดีๆ ในชีวิต บางสิ่งที่เราคิดว่าไร้สาระในวันนี้ เมื่อนึกย้อนกลับไปอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกเสียดายก็เป็นได้ ลองเดินออกมาจากกรอบเดิมๆ เพลิดเพลินกับความสุขเล็กๆ รายทางที่เรามองข้าม เอาเวลาอันแสนมีค่ามามอบให้กับเพื่อน คนรัก และครอบครัวดูบ้าง

แล้วจะรู้ว่าโลกที่ขาดความสมบูรณ์แบบใบนี้น่าอยู่ยิ่งกว่าเดิมรู้หรือไม่?
ลูกคนโตมีแนวโน้มจะมีอาการเสพติดความเพอร์เฟ็กต์มากกว่าลูกคนรอง เพราะมักถูกพ่อแม่คาดหวังว่าจะต้องเป็นที่พึ่งของครอบครัว ในครอบครัวคนจีน ลูกชายจะมีอาการเสพติดความเพอร์เฟ็กต์มากกว่าลูกผู้หญิงด้วยเหตุผลเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า คนที่เสพติดความเพอร์เฟ็กต์จะได้รับรายได้น้อยกว่าคนที่ใช้ชีวิตโดยไม่สนใจความเพอร์เฟ็กต์เลย

ข้อมูลจาก ความรู้รอบตัว.com
http://www.xn--42c8ao1akazf5c2be0gsk.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0/happy-perfectionist.html

ระวังไวรัสเมิร์สคอฟ ( MERS-CoV) ระบาด


ระวังไวรัสเมิร์สคอฟ (MERS-CoV) ระบาด


                                     

           แม้ว่าไวรัสเมิร์สคอฟสายพันธุ์ใหม่จะยังไม่มาถึงประเทศไทย แต่ควรรู้และ ป้องกันไว้ก่อนเพราะเป็นเชื้อใหม่ล่าสุดที่ยังไม่มียารักษา

ทำไมชื่อ เมิร์สคอฟ
มาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง

ต้นกำเนิดของไวรัสเมิร์สคอฟ
ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

ความร้ายแรงของไวรัส
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

การป้องกันเบื้องต้น

1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม

3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด

4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์

5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง
หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย

หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
จาก : เว็บไซต์มติชน
อ้างอิงจาก: http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/3/40/724/th